ประโยคภาษาไทย/ประโยคภาษาญี่ปุ่น MORE | |
---|---|
1 |
แม่บังคับลูกให้ทานผัก
mɛ̂ɛ baŋkháp lûuk hây thaan phàk
|
2 |
คะแนนสอบเป็นไง
khánɛɛn sɔ̀ɔp pen ŋay
|
3 |
ถ้าเผลอไปกอดแล้วเธอจะว่ายังไง
thâa phlə̌ə pay kɔ̀ɔt lɛ́ɛw thəə cà wâa yaŋŋay
|
4 |
บริษัทจะจ่ายโบนัสเดือนนี้ พนักงานจึงมีท่าทางร่าเริงแจ่มใส
bɔɔrísàt cà càay boonás dʉan níi phanákŋaan cʉŋ mii thâa thaaŋ râarəəŋ cɛ̀msǎy
|
5 |
ตั้งใจเรียนนะลูก
tâŋcay rian ná lûuk
|
6 |
ช้างมีรูปร่างประหลาดเป็นสัตว์บก
cháaŋ mii rûup râaŋ pralàat pen sàt bòk
|
7 |
50,000 บาท เศษ
hâa mʉ̀ʉn bàat sèet
|
8 |
ไปกี่ครั้งๆก็จำทางไม่ได้สักที
pay kìi khráŋ kìi khráŋ kɔ̂ cam thaaŋ mây dây sák thii
|
9 |
ตบหลังทักทาย
tòp lǎŋ thák thaay
|
10 |
ผมร่วง
phǒm rûaŋ
|
ค้นหา ภาษาญี่ปุ่น
หัดเขียนภาษาญี่ปุ่นจากภาพ Animation จะทำให้เราเขียนได้ถูกต้องและเข้าใจตามหลักของเจ้าของภาษามากขึ้น ที่ทั้งโปรแกรมยังบอกลำดับการเขียนเป็นขั้นลำดับด้วย ทำให้เราศึกษาการเขียนตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นได้เร็วยิ่งขึ้น
ローマ字化/英語/Romaji
番号。 | 女の子と男の子の名前 | ローマ字化/英語/Romaji |
---|---|---|
1 | あい | ローマ字化/英語/Romaji |
2 | あいか | ローマ字化/英語/Romaji |
3 | あいさ | ローマ字化/英語/Romaji |
4 | あいな | ローマ字化/英語/Romaji |
MORE |
หัดเขียนภาษาจีนจากภาพ Animation จะทำให้เราเขียนได้ถูกต้องและเข้าใจตามหลักของเจ้าของภาษามากขึ้น ที่ทั้งโปรแกรมยังบอกลำดับการเขียนเป็นขั้นลำดับด้วย ทำให้เราศึกษาการเขียนตัวอักษรภาษาจีนได้เร็วยิ่งขึ้น
หากต้องการหาความหมายภาษาจีนหรือแปลภาษาจีนสามารถเข้าไปได้ที่ link
KKP Research โดยกลุ่มการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิด 4 ธุรกิจดาวรุ่ง ได้ประโยชน์จากการขยายตัวธุรกิจค้าปลีกออนไลน์
วันที่ 30 สิงหาคม 2564 KKP Research โดยกลุ่มการเงินเกียรตินาคินภัทรประเมินว่า ตลาดค้าปลีกออนไลน์หรือ E-commerce ในไทยหลังโควิด-19 จะขยายตัวเฉลี่ย 20% ต่อปีตลอดช่วง 5 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากระดับ 3 แสนล้านบาทในปัจจุบัน เป็น 7.5 แสนล้านบาทในปี 2025 หรือคิดเป็น 16% ของตลาดค้าปลีกรวม ซึ่งเฉพาะในปี 2020 ที่ผ่านมา E-commerce ไทยขยายตัวอย่างก้าวกระโดดถึง 80%
สะท้อนการเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคไปสู่ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น จากข้อจำกัดด้านการเดินทางจากมาตรการล็อกดาวน์ โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และหมวดอาหารและสุขภาพมีแนวโน้มขยายตัวดี ขณะที่การใช้จ่ายด้านการจองโรงแรมและการเดินทางหดตัวอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ KKP Research ยังมองว่าการขยายตัวธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ยังส่งเสริมให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้รับประโยชน์ไปด้วย ได้แก่
(1) ธุรกิจคลังสินค้า (Warehouse) การเติบโตอย่างต่อเนื่องของค้าปลีกออนไลน์ส่งผลให้ความต้องการพื้นที่ของคลังสินค้าขยายตัวขึ้น แม้ว่าผลกระทบของโควิด-19 และการขยายพื้นที่คลังสินค้าเพื่อรองรับความต้องการในอนาคต จะทำให้อัตราการถือครองพื้นที่คลังสินค้าของไทยลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 86% ในปี 2020 ในระยะต่อไป
การเติบโตของร้านค้าปลีกออนไลน์จะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อธุรกิจคลังสินค้า โดยเฉพาะคลังสินค้าสมัยใหม่ที่มีรูปแบบการให้บริการครบวงจร ศูนย์กระจายสินค้า รวมถึงห้องเก็บความเย็น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทานของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหารและยา การขยายตัวของธุรกิจคลังสินค้าและทำเลที่ตั้งของประเทศยังสามารถยกระดับและต่อยอดให้ไทยขยายไปสู่การเป็นศูนย์กลางคลังสินค้าของภูมิภาคได้อีกด้วย
(2) บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ธุรกิจบรรจุภัณฑ์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ขยายตัวควบคู่ไปกับการเติบโตของค้าปลีกออนไลน์ ข้อมูลจาก Bank of America บ่งชี้ว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในธุรกิจค้าปลีกออนไลน์คิดเป็นถึง 12% ของตลาดบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ และประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ปัจจุบันไทยถือเป็นประเทศผู้ส่งออกบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน
ประกอบกับทิศทางการขยายตัวของ E-commerce ของไทย โอกาสในการขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ยังมีแนวโน้มโตต่อเนื่องในอีก 4-5 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตในไทยเกือบ 80% ของทั้งหมดมาจากพลาสติก ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในกระแสบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะถัดไป ดังนั้น อาจเป็นโอกาสและช่องทางสำหรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นหรือพลาสติกรีไซเคิลที่ยังมีส่วนแบ่งในตลาดน้อยอยู่
(3) ขนส่ง (Logistics) การขนส่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาค้าปลีกออนไลน์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและจำนวนผู้ให้บริการขนส่งที่มีมากขึ้นช่วยเกื้อหนุนการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเนื่องกลับมายังธุรกิจขนส่งโดยตรง โดยเฉพาะธุรกิจขนส่งขั้นสุดท้ายหรือ Last-Mile Delivery จากการขยายตัวของฐานผู้บริโภคทั่วประเทศ
หลายปีที่ผ่านมาความต้องการขนส่งสินค้าและพัสดุในไทยเพิ่มขึ้นมาก โดยระหว่างปี 2014-2019 จำนวนการขนส่งพัสดุในไทยขยายตัวเฉลี่ยถึง 92% ต่อปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจขนส่งของทั่วโลกที่อยู่เพียง 4.2% และหากพิจารณาจำนวนการขนส่งพัสดุต่อประชากรในปี 2019 พบว่าไทยอยู่ที่ 8.3 ต่อประชากรหนึ่งคน ซึ่งยังน้อยกว่าประเทศที่มีการเข้าถึงค้าปลีกออนไลน์สูงกว่า อาทิ จีน (42.6) เกาหลีใต้ (48.2) เป็นต้น
(4) โฆษณาออนไลน์ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาสื่อโฆษณาออนไลน์ในไทยสามารถขยายตัวอย่างก้าวกระโดดราว 21% ต่อปี จนในปี 2020 คิดเป็น 23% ของมูลค่าสื่อโฆษณาทั้งหมด ขยายตัวจากปี 2015 ที่อยู่เพียง 7% โดยมากกว่า 50% ของโฆษณาออนไลน์ในไทยเป็นการโฆษณาบน Facebook และ Youtube ซึ่งสะท้อนรูปแบบการเข้าถึงผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใช้สื่อสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้น และสอดคล้องกับการที่ไทยมีสัดส่วนของค้าปลีกออนไลน์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์อยู่ในระดับสูงถึงเกือบ 40% ในระยะต่อไป
ขณะที่มีบางธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นธุรกิจค้าปลีกที่อาศัยหน้าร้าน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการขายหรือให้เช่าพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ หรือร้านอาหารขนาดใหญ่ที่ถูกแย่งส่วนแบ่งจากบริการส่งอาหาร (Food Delivery)
อย่างไรก็ดี กลยุทธ์การปรับตัวไปสู่ภาวะปกติใหม่ (New Normal) จะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับธุรกิจที่จะอยู่รอดต่อไป และเป็นโอกาสในการสร้างการเติบโตใหม่ของธุรกิจได้
KKP Research โดยกลุ่มการเงินเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์ว่าภาครัฐสามารถมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจค้าปลีกออนไลน์และเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ เพื่อยกระดับผลิตภาพในภาคบริการ สร้างงานในภาคธุรกิจใหม่ และสร้างการเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมแก่ธุรกิจรายย่อย ผ่านการส่งเสริมด้านโครงสร้างพื้นฐานและลดขั้นตอนและกฎระเบียบใน 3 ด้าน ได้แก่
(1) ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพโลจิสติกส์ในประเทศ ทั้งการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนการจัดตั้งคลังสินค้าสมัยใหม่แบบครบวงจร (Fulfillment center)
(2) สนับสนุนการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์และการจัดเก็บภาษีบนธุรกิจออนไลน์อย่างโปร่งใสและเป็นระบบ เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกรรมค้าปลีกออนไลน์ในอนาคต
(3) ขยายตลาดค้าปลีกออนไลน์ให้ไปไกลกว่าตลาดในประเทศผ่านการลดขั้นตอนและกฎระเบียบระหว่างแดน เพื่อให้ธุรกิจ E-commerce ของไทยสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต 470 ล้านคนในอาเซียนได้
อ่านข่าวต้นฉบับ: เปิด 4 ธุรกิจรุ่ง ได้ประโยชน์จากค้าปลีกออนไลน์ (E-commerce)